ไม่มีหมวดหมู่ » กางแผน “โรงพยาบาลวัฒนา – อุดรธานี” เร่งเครื่อง ตั้งรับสถานการณ์ ชี้ทีมเวิร์คในสังคม + Action เร็ว + ตัดวงจรการแพร่เชื้อ

กางแผน “โรงพยาบาลวัฒนา – อุดรธานี” เร่งเครื่อง ตั้งรับสถานการณ์ ชี้ทีมเวิร์คในสังคม + Action เร็ว + ตัดวงจรการแพร่เชื้อ

29 เมษายน 2021
556   0

สถานการณ์โควิดระลอกใหม่ลุกลาม ส่งผลให้โรงพยาบาลทั่วประเทศปรับตัว พร้อมเตรียมมาตรการตั้งรับ ในส่วนของ จ.อุดรธานี ที่มีโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ตอนนี้มีเร่งเครื่องมาตรการตั้งรับ โดยในส่วนของ ดร.ณัฐธิรา ตั้งสืบกุล โรงพยาบาลวัฒนา – อุดรธานี หรือ โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์นวัฒนา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลท้องถิ่นขนาดใหญ่ ให้สัมภาษณ์

ครั้งนี้มีผลกระทบมาก จำนวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราได้ประเมินความรุนแรงและมีการเตรียมพร้อมในรพ. และมีการพูดคุย ประสานงานกับ สสจ.จังหวัด และ ทุกรพ.ในจังหวัด โดยระลอกนี้ ผู้ติดเชื้อมีจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะเตียงรพ.เต็ม ซึ่งในระดับจังหวัดได้มีการจัดสรร เตรียมเตียงสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด โดยแบ่งเป็นกลุ่มไม่มีอาการสามารถพักรักษาตัวในรพ.สนามได้ กลุ่มอาการไม่รุนแรงสามารถพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยแยกโรคได้ และกลุ่มอาการหนักต้องรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนน้อย”

“ช่วงระบาดระลอกสามนี้ รพ.ใช้มาตรการต่างๆ เพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อ เช่น จัดโซนนิ่งการตรวจรักษาผู้ป่วย มีคลินิกพิเศษตรวจหาเชื้อโควิดตั้งอยู่อาคารแยกจากอาคารหลักของรพ. การจำกัดการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย งดการประชุมภายในเปลี่ยนเป็นออนไลน์ ร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัดในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้แก่บุคลากรด่านหน้า”

ด้วยความห่วงใยในผู้ใช้บริการทุกท่าน โรงพยาบาลวัฒนามีมาตรการรับมือกับ COVID-19 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ผู้มาใช้บริการ และบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล โดยมีมาตรการการป้องกัน ดังนี้ ทำความสะอาด พื้นผิวสัมผัสสาธารณะ ทุก 1ชั่วโมง, มีการทำลายเชื้อด้วยการเช็ดทำความสะอาดและพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทุกวัน, มีการจัดเตรียมน้ำยาแอลกอฮอล์ล้างมือไว้บริการ ทุกจุดที่มีการใช้บริการร่วม, ระบบคัดกรอง

มีจุดคัดกรองแยกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ (PUI) และผู้ป่วยทั่วไป ตั้งแต่หน้าประตู เพื่อกำหนดเส้นทางและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ (PUI) และ ผู้ป่วยทั่วไปเดินปะปนกัน, คลินิกแยกโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (ARI clinic) แยกโซนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (ARI clinic) กับกลุ่มผู้ป่วยทั่วไป และให้บริการเป็น one stop service เพื่อไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยทั่วไป, กรณีต้องนอนพักรักษาตัว มีวอร์ดผู้ป่วยในสำหรับผู้ป่วยกลุ่มติดเชื้อ COVID-19 โดยเฉพาะ ไม่ปะปนกับผู้ป่วยทั่วไป, รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล จัดเก้าอี้จุดรอคิว นั่งรอห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร, เพิ่มการให้ความรู้และสมรรถนะเจ้าหน้าที่ในการดูแลคนไข้ COVID-19 อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้องรักษาระยะห่างและลดการเดินทาง ทาง รพ. ยังได้ปรับตัว เพิ่มบริการ wattana@home อาทิเช่น 

1. ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ เมื่อต้องการรับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำตัว หรือ เมื่อเจ็บป่วยไม่อยากเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเรามีบริการดังกล่าวเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนไข้ทุกคน 2. บริการส่งยา ให้คนไข้ถึงบ้านสำหรับคนไข้เดิมของเรา เราจะมีการโทรเข้าไปสอบถามอาการคนไข้ประจำ (โรคเบาหวาน, โรคความดัน เป็นต้น) โดยพยาบาลโทรเข้าไปสอบถามอาการเพื่อรับยา, รับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำตัวของแต่ละท่าน หรือ ทำการปรับยา ให้กับลูกค้าทั้งอุดรธานี หนองคาย และเวียงจันทน์ คนไข้ที่อยู่ที่เวียงจันทน์เราก็สามารถให้บริการส่งจากประเทศไทยไปให้ถึงที่บ้านได้เช่นกัน 

3. บริการกายภาพ สำหรับคนไข้ที่ติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เรามีบริการกายภาพให้ถึงบ้านเพื่อช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวร่างกาย ป้องกันแผลกดทับ ทำให้คนไข้มีสุขภาพทั้งทางกายและใจดีขึ้น 

4. บริการทำแผล เรามีบริการทำแผลให้สำหรับคนไข้ที่อยู่บ้านคนเดียวไม่สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลได้ หรือ มีความกังวลไม่อยากมาที่โรงพยาบาล ในบริการนี้เราสามารถออกไปให้บริการดังกล่าวเพื่อให้บริการที่บ้านได้เลย 

5. บริการเจาะเลือด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจดูสุขภาพเป็นระยะๆ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานต้องตรวจดูน้ำตาลทุกๆ 3 เดือน เป็นต้น ในบริการนี้สามารถโทรเข้ามาที่โรงพยาบาลเพื่อทีมพยาบาลออกไปเจาะเลือดคนไข้เพื่อนำกลับมาให้แพทย์พิจารณาผลต่อไป 

6. บริการรถรับ-ส่ง ในกรณีฉุกเฉินสามารถโทรแจ้งเข้ามาที่โรงพยาบาลเพื่อจัดเตรียมทีมออกไปรับ-ส่ง ได้เลย ตามสโลแกนที่เราคุ้นหูว่า “ฉุกเฉินนึกถึงวัฒนา”

นอกจากนี้ โรงพยาบาลวัฒนา ยังเปิดหน่วยบริการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ COVID-19 นอกสถานที่ทั้งภายในบ้าน สำนักงาน ทุกประเภท ในช่วงที่โควิดระบาดเรามีให้ความรู้เกี่ยวกับโรค วิธีการป้องกัน สอนการล้างมือที่ถูกวิธี วิธีการสวมใส่อุปกรณ์ และวิธีในการทำความสะอาดสถานที่ในการปฏิบัติงานให้กับกลุ่มบริษัท ห้าง ร้าน และโรงเรียน ในจังหวัดอุดรธานี

ท้ายสุดทางผู้บริหาร รพ. ได้กล่าวแสดงทัศนะถึงทางออกของวิกฤติการณ์ครั้งนี้ว่า

            “คอนเซ็ปท์ระลอกนี้คือ ตัดวงจรการระบาดให้เร็ว ป้องกันการแพร่เชื้อ สร้างภูมิคุ้มกันให้บุคลากรทางการแพทย์ ระลอกนี้ ในระดับจังหวัด ทีมเวิร์คจะทำให้สังคมเราปลอดภัยไปด้วยกัน ตั้งแต่การติดตามประกาศ การให้ไทม์ไลน์ที่ละเอียด การกักตัวด้วยความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง”

“ในด้านของ รพ.วัฒนา ทีม รับมือโควิด นำโดยทีมแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการติดเชื้อ ทำหน้าที่สั่งการรับมือทันทีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ทำงาน 24 ชั่วโมงในระดับรพ. เราพร้อมรับมือ เราตัดวงจรการระบาด โดยแยกกลุ่มเสี่ยงออกจากกลุ่มปกติ ตั้งแต่แรกของการเริ่มระบาดระลอก 3 คือต้นเดือนเมษายน เราจัดพื้นที่การคัดกรองอยู่หน้าทางเข้า แยกกลุ่มเสี่ยงไปตรวจที่คลินิกพิเศษนอก รพ. จำกัดการเยี่ยมผู้ป่วย เพิ่มเปิดหอผู้ป่วยอีก 2 ชั้น โดยหอที่รับกลุ่มเสี่ยงถูกแยกอยู่คนละอาคารกับกลุ่มปกติ”

“จัดสถานที่ตรวจโควิดอยู่แยกนอกอาคาร เพิ่มการตรวจคัดกรองผู้ป่วยเสี่ยง ก่อนเข้าพักรักษาตัวหรือผ่าตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ รอบนี้เพิ่มเติมคือ เราสร้างภูมิคุ้มกันให้แพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ โดยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด ที่ภาครัฐให้การสนับสนุน โดยปัจจุบันแพทย์ของเราได้รับวัคซีนแล้ว 100% (ในกลุ่มที่ไม่มีข้อยกเว้นในการรับวัคซีน) และ กว่า 50% ในกลุ่มบุคลากรด่านหน้า ถ้าบุคลากรทางการแพทย์มีภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยจะรับการรักษาพยาบาลอย่างมั่นใจ และป้องกันการแพร่เชื้อในรพ.”

“มาตรการที่สำคัญอีกอย่าง สำหรับผู้ประกอบการคือ บุคลากรต้องกักตัวอย่างรวดเร็วเมื่อรู้ความเสี่ยงตนเอง และการประชุมเป็นแบบออนไลน์เท่านั้น ลดการพบปะ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ”

“สุดท้ายนี้ หากทีมเวิร์คในสังคมเกิดขึ้น เรา action เร็วกับการตัดวงจรการแพร่เชื้อ เราสามารถเผชิญหน้ากับทุกระลอกที่จะมาเรื่อยๆ ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญใหม่ของสังคมของเรา คือการอยู่ร่วมกับโรคติดต่ออย่างปลอดภัย” ผู้บริหารกล่าวทิ้งท้าย