WHAT'S NEWS » ข้อมูลสรุปการดำเนินงาน ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564

ข้อมูลสรุปการดำเนินงาน ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564

2 ตุลาคม 2021
468   0

กลุ่มมิตรผล และบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันจัดตั้ง ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ ด้วยงบประมาณ 500 ล้านบาท เมื่อเดือนมีนาคม 2563 เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ตลอดระยะเวลา
การดำเนินงานกว่า 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา กองทุนฯ ได้มอบความช่วยเหลือให้กว่า 380 หน่วยงาน ในพื้นที่ 40 จังหวัด ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ด้วยเล็งเห็นว่าปัจจุบันวิกฤติโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องในด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งสองบริษัทจึงสานต่อจุดยืนของการอยู่เคียงข้างคนไทยด้วยการเพิ่มงบประมาณกองทุนฯ อีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถเดินหน้าช่วยเหลือคนไทยต่อไปได้ และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และประเทศไทยให้กลับคืนสู่ภาวะปกติสุขอีกครั้ง โดยได้สรุปผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ระหว่างเดือนมีนาคม 2563 – กันยายน 2564 ดังนี้

รูปแบบการส่งมอบความช่วยเหลือ

ระลอกที่ 1 และ 2

  • บริจาคเงินช่วยเหลือหน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์
    และสาธารณสุข
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลระดับจังหวัดและอำเภอ ทั้งในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่เสี่ยงสูง
  • จัดทำประกันชีวิตให้แก่แพทย์และพยาบาลทั่วประเทศ
  • บริจาคและจำหน่ายจ่ายแจกหน้ากากผ้าคุณภาพดี
  • ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนด้านปากท้องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  • สนับสนุนบริการ EV Car Sharing ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์
    ในโรงพยาบาล 6 แห่ง

ระลอกที่ 3

  • สนับสนุนการสร้างโรงพยาบาลสนาม
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลระดับจังหวัดและอำเภอ ทั้งในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่เสี่ยงสูง
  • ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนด้านปากท้องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ

ระลอกปัจจุบัน

  • สนับสนุนการขยายศักยภาพโรงพยาบาลและเตียงผู้ป่วย เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อระดับสีเหลืองและแดง
  • สนับสนุนระบบบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
  • มอบเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาวัคซีน รวมถึงสนับสนุนพื้นที่และอุปกรณ์จำเป็นสำหรับจัดตั้งจุดฉีดวัคซีนแก่ประชาชน
  • มอบรถตู้พยาบาลกู้ชีพฉุกเฉินสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ให้แก่มูลนิธิและกลุ่มอาสาสมัคร
  • มอบกล่องบรรจุเวชภัณฑ์และสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
  • บริการรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าในการจัดส่งผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 ให้เดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย และส่งของที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วกรุงเทพฯ
  • บริการ EV Car Sharing และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแก่บุคลากรทางการแพทย์
  • สนับสนุนการสร้างและซ่อมแซมเมรุเผาศพ และกิจกรรมการฌาปนกิจให้แก่วัดในพื้นที่สีแดงเข้ม
  • มอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเชิงรุกให้แก่หน่วยงานในพื้นที่เสี่ยง
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลระดับจังหวัดและอำเภอ ทั้งในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่เสี่ยงสูง
  • ให้ความช่วยเหลือแก่ภาคประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนด้านปากท้องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ

หมวดหมู่ของการส่งมอบความช่วยเหลือและการสนับสนุนตั้งแต่ระลอกที่ 1 จนถึงปัจจุบัน

  1. -19
  • สร้างหอผู้ป่วยวิกฤติระบบการหายใจบ้านปู และหอผู้ป่วยวิกฤติบ้านปู 2 รวมทั้งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มูลค่ารวมกว่า 60 ล้านบาท
  • สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างหอผู้ป่วยสนามเร่งด่วนและจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มูลค่ารวม 40 ล้านบาท
  • สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพและพื้นที่ใกล้เคียง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลสมุทรสาคร และสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา มูลค่ารวม 40 ล้านบาท
  • สนับสนุนเครื่องตรวจ CT Scan จำนวน 1 เครื่อง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มูลค่ารวมกว่า 23 ล้านบาท
  • สนับสนุนเครื่องตรวจ CT Scan ให้แก่โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มูลค่ารวมกว่า 30 ล้านบาท
  • สนับสนุนเครื่องช่วยหายใจประเภทต่างๆ จำนวน 74 เครื่อง ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี และโรงพยาบาลอีก 31 แห่ง มูลค่ารวมกว่า 35 ล้านบาท
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลชายแดน จ.ตาก และโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงสูงใน
    จ.สมุทรสงคราม มูลค่ารวมกว่า 12 ล้านบาท
  • สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ป้องกันตนเอง และอุปกรณ์ที่จำเป็น มูลค่ารวมกว่า 8.6 ล้านบาท ให้แก่โรงพยาบาลสนาม 14 แห่ง
  • สนับสนุนห้องตรวจเชื้อความดันลบ-บวก จำนวน 20 ห้อง ผ่านกรมการแพทย์เพื่อกระจายสู่โรงพยาบาล 20 แห่ง มูลค่ารวม 5.3 ล้านบาท
  • สนับสนุนเงินในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และปรับปรุงสถานที่ให้แก่โรงพยาบาลซีจีเอช มูลค่ารวมกว่า 11.7 ล้านบาท
  • สร้างห้องตรวจปลอดเชื้อโรคความดันลบ ห้องหัตถการแรงดันลบ และปรับปรุงห้องผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ รวมทั้งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลพนมสารคาม โรงพยาบาลสนามชัยเขต และสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา มูลค่ารวมกว่า 8.4 ล้านบาท
  • สนับสนุนเงินในการสร้างห้องตรวจเชื้อ และจัดซื้อเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและวัดสัญญาณชีพ และเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ ให้แก่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มูลค่ากว่า 7.3 ล้านบาท
  • สนับสนุนเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ระบบดิจิทัล (ไม่น้อยกว่า 300 mA) สำหรับตรวจวินิจฉัยอาการของผู้ป่วย
    โควิด-19 กลุ่มที่มีภาวะปอดอักเสบ ให้แก่โรงพยาบาลกลาง มูลค่ากว่า 4.8 ล้านบาท
  • 2 ล้านบาท
  • สร้างหอผู้ป่วยจิตเวชสำหรับกลุ่มติดเชื้อโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลศรีธัญญา มูลค่า 2.5 ล้านบาท
  • โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร มูลค่า 3.3 ล้านบาท
  • สนับสนุนระบบบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ให้แก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เพื่อช่วยบริหารจัดการผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวให้สามารถดูแลรักษาเองที่บ้านได้ และบริหารจัดการผู้ป่วยภายในสถานประกอบการผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในชุมชน และผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่สามารถเดินทางมารักษาได้ ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มูลค่ากว่า 4 ล้านบาท
  • สนับสนุนรถตู้พยาบาลกู้ชีพฉุกเฉินและอุปกรณ์ป้องกัน ให้แก่กลุ่มอาสาสมัครเส้นด้าย (Zendai) และมูลนิธิเพชรเกษม มูลค่ารวมกว่า 7 ล้านบาท
  • มอบเตียงสนามไม้ พาเนล พลัส จำนวนกว่า 3,000 เตียง ให้แก่ โรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่เสี่ยง มูลค่ารวมกว่า 4 ล้านบาท

2) หมวดการดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์

  • สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำประกันชีวิตให้แก่แพทย์กว่า 6 หมื่นคน และพยาบาลกว่า 2.2 แสนคน ในโครงการ ‘นักรบเสื้อขาวสู้ภัยโควิด-19’ มูลค่า 5 ล้านบาท
  • สนับสนุนโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้วยการมอบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi จากบริษัท Banpu NEXT โดยความร่วมมือกับ MuvMi และ P. Library Design Studio ในการใช้รถรับ-ส่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่มีอาการดีขึ้นแล้ว จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไปยัง OZONE HOTEL Samyan ซึ่งเป็นสถานที่พักฟื้นของผู้ป่วย
  • EV Car Sharing ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลปิยะเวท โรงพยาบาลพญาไท 1 พญาไท 2 พญาไทนวมินทร์ และเปาโลพหลโยธิน 3 เดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • บริการ EV Car Sharing และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสนามบุษราคัม
    ตลอดช่วงระยะเวลาการเปิดให้บริการของโรงพยาบาลสนาม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

3) หมวดการสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขอนามัยและการป้องกันการติดเชื้อเชิงรุก

  • มอบหน้ากากผ้าคุณภาพดี จำนวน 1.5 ล้านชิ้น ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลและเจ้าหน้าที่ขององค์กร
    และมูลนิธิต่างๆ มูลค่ารวม 30 ล้านบาท
  • มอบหน้ากากผ้าที่ระลึกสำหรับผู้บริจาคโลหิต สภากาชาดไทย จำนวน 4 แสนชิ้น มูลค่ารวม 10 ล้านบาท
  • มอบเจลแอลกอฮอล์และแอลกอฮอล์สเปรย์ ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ จำนวนกว่า 9 แสนลิตร มูลค่ารวมกว่า 29 ล้านบาท
  • มอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเชิงรุกให้แก่ 7 หน่วยงานในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ สำนักงานเขตหลักสี่ สำนักงานเขตห้วยขวาง สำนักงานเขตบางกะปิ สำนักงานเขตบางพลัด สำนักงานเขตบางแค รวมไปถึงศูนย์เอราวัณและสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค มูลค่ารวม 1.3 ล้านบาท
  • สนับสนุนกล่องเราดูแลกัน หรือ Covid Care Box ซึ่งบรรจุเวชภัณฑ์และสิ่งของจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน พร้อมชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง (Rapid Antigen Test) ผ่านเครือข่าย ‘เราดูแลกัน’
    (We Care Network) มูลค่า 5 ล้านบาท
  • สนับสนุนงบประมาณให้แก่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับโครงการรองรับการฉีดวัคซีน มูลค่ากว่า 1.7 ล้านบาท
  • สนับสนุนงบประมาณเพื่อฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้แก่พนักงาน ชาวไร่ และผู้รับเหมาของกลุ่มมิตรผล มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

4) หมวดการสนับสนุนด้านการครองชีพสำหรับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ

  • มอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ อ.บ้านบึง อ.หนองใหญ่ เทศบาลเมืองชลบุรี และเมืองพัทยา จำนวนกว่า 2,500 ถุง มูลค่ารวมกว่า 2.5 ล้านบาท
  • มอบถุงยังชีพให้แก่กลุ่มประชาชนที่เดือดร้อน เช่น เด็กกำพร้าและประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านมูลนิธิอะมีรุลมุอ์มินีน ประชาชนที่ทำงานในธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวผ่าน ศูนย์ธารชีวิตเพื่อสตรี และมูลนิธิซิสเตอร์ ศูนย์ชุมชนคนข้ามเพศ ในพื้นที่พัทยา และ จ.ชลบุรี รวมถึงประชาชนในเขตโรงงานอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ และ จ.สมุทรปราการ จ.สมุครสาคร และ จ.ปทุมธานี จำนวนกว่า 3,300 ถุง มูลค่ารวมกว่า 3.3 ล้านบาท
  • มอบถุงยังชีพให้แก่กลุ่มประชาชนในชุมชนคลองเตย จำนวนกว่า 2,500 ถุง มูลค่ารวมกว่า 1.3 ล้านบาท
  • มอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตและหน้ากากผ้า มูลค่า 2 ล้านบาท ให้แก่สภากาชาดไทย
  • มอบเงินสนับสนุนให้แก่ ”โครงการต้องรอด โดยกลุ่ม Up for Thai” เพื่อจัดซื้อวัตถุดิบในการทำอาหารและสิ่งของจำเป็น เพื่อแจกจ่ายไปยังชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19  มูลค่า 1.5 ล้านบาท
  • มอบเงินสนับสนุนให้แก่โครงการ “รวมใจบริษัทจดทะเบียนสู่ชุมชน” โดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เพื่อส่งมอบอาหารปรุงสุกและอาหารแห้งให้แก่ชุมชนได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 มูลค่ารวม 5 ล้านบาท
  • จัดตั้งโครงการ “มูฟมี อาสาขนส่ง ห่วงใย โดยกองทุนมิตรผล-บ้านปูฯ” นำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi มาใช้ในการจัดส่งผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 ให้เดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย และส่งของที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่ที่ MuvMi ให้บริการทั่วกรุงเทพฯ รวมมูลค่าความช่วยเหลือกว่า 12 ล้านบาท
  • จัดตั้งโครงการ “มิตรปันสุข” เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดเงินหมุนเวียนจากการจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค และการจ้างผลิตและแพ็คถุงยังชีพในชุมชน เพื่อมอบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ผู้ป่วย ผู้ที่ต้องกักตัว กลุ่มเปราะบางและมีรายได้น้อย รวมมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท
  • จัดตั้งโครงการ “มิตรผล เติมความหวาน เคียงข้างผู้ประกอบการไทย” ช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร
    และเครื่องดื่มรายย่อย ลดต้นทุน เพิ่มกำไร ด้วยการมอบ E-Voucher สำหรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำตาลมิตรผล รายละ 500 บาท จำนวน 20,000 ราย รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท เพื่อเป็นกำลังใจและใช้ในการดำเนินธุรกิจหลังจากที่ภาครัฐได้ประกาศมาตรการผ่อนคลาย
  • มอบเงินสนับสนุนให้แก่สมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ เพื่อจัดซื้อ
    “ถุงสู้ไปด้วยกัน” และ “ถุงสู้โควิด” ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน มูลค่ากว่า 4.4 ล้านบาท

5) หมวดการสนับสนุนด้านอื่นๆ

  • มอบเงินสนับสนุนให้แก่มูลนิธิ CU Enterprise (โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย) มูลค่า 2 ล้านบาท
  • ร่วมกับสำนักงานประกันสังคมเขต 12 สนับสนุนพื้นที่ของอาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ให้เป็นจุดฉีดวัคซีนแก่ประชาชน
  • โครงการผลิตอาหารและเครื่องดื่มเสริมภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิด-19
  • การพัฒนาซอฟท์แวร์ Alto Guest Service สำหรับผู้กักตนในโรงแรมที่เป็น State Quarantine เพื่อใช้แจ้งอาการเจ็บป่วย วัดไข้ และเป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานกับเจ้าหน้าที่โรงเเรม
  • สนับสนุนงบประมาณเพื่อร่วมสร้างและซ่อมแซมเมรุเผาศพ รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมการฌาปนกิจให้แก่วัดกว่า 30 แห่งในพื้นที่สีแดงเข้ม มูลค่ารวมกว่า 11.5 ล้านบาท

รายชื่อ 40 จังหวัดที่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนฯ

  • ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดพิจิตร
  • ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ
  • ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดอยุธยา
  • ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี
  • ได้แก่ จังหวัดตาก และจังหวัดราชบุรี
  • ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดพัทลุง

การเพิ่มงบประมาณกองทุนอีก 500 ล้านบาท (รวมเป็น 1,000 ล้านบาท)

กลุ่มมิตรผลและบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพิ่มงบประมาณ ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ อีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1,000 ล้านบาท เพื่อสานต่อภารกิจเคียงข้างคนไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
ด้วยกลยุทธ์ 7 หมวดหมู่ของการส่งมอบความช่วยเหลือ โดยจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาวะ และอีกส่วนหนึ่งจะจัดสรรไว้สำหรับการช่วยเหลือด้านสาธารณสุข
ในการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

7 หมวดหมู่ของการส่งมอบความช่วยเหลือ ได้แก่

  • การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่                      
  • การสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสาธารณสุข                      
  • การสนับสนุนบริการสาธารณสุขเชิงรุก                                
  • การสนับสนุนงานด้านการป้องกันการแพร่ระบาด และกิจกรรมฌาปนกิจศพผู้ป่วยโควิด-19
  • การสนับสนุนกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง                                
  • การเยียวยาด้านสุขภาพจิต                       
  • จุดประสงค์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สรุปงบประมาณกองทุนฯ และมูลค่าการสนับสนุน (ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564)

บริษัท เงินสมทบทุน (บาท)มูลค่าการสนับสนุนและบริจาค (บาท)
กลุ่มมิตรผล500,000,000223,152,997
บ้านปู500,000,000301,552,751
รวม1,000,000,000524,705,748